Address
รูปแบบการเรียนแบบ Online & Real Time ผ่าน Zoom View map
Promotion!! เพียง 2,500 บาท (ยังไม่รวม Vat 7%)
ก.พ. |
มี.ค. | พ.ค. |
อ.8 | อ.15 | ศ.20 |
กับรูปแบบการเรียนแบบ Online & Real Time ผ่าน Zoom
บทบาทการเป็น Strategic Partnership ของ HR อย่างหนึ่งคือการจัดทำแผนกลยุทธ์ด้าน HR ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยส่วนใหญ่แล้ว HR มักจะจัดทำแผน HR ในระดับ Functional ซึ่งตอบสนองงานภายในหน่วยงาน HR เท่านั้น แต่แผนกลยุทธ์ HR ที่มีประสิทธิภาพที่แท้จริงจะต้อง “แปลงกลยุทธ์องค์กร สู่แผนกลยุทธ์และปฏิบัติการ HR” ได้ เพื่อให้แผนปฏิบัติการ HR หรือ Action Plan สามารถเชื่อมโยงและสนับสนุนแผนกลุยธ์ขององค์กร สอดคล้องทั้งเชิงมิติกลยุทธ์ และมิติกาลเวลา แต่ปัญหามักเกิดจากหลายคนรู้จัก Action plan แต่เข้าใจไม่เท่ากัน ไม่ทราบว่าเขาทำกันอย่างไร จะตรวจสอบอย่างไรว่าทำถูกต้องหรือไม่ และ ยังมีปัญหาอุปสรรคอีกหลายอย่างที่ทำให้การ วางแผนขาดประสิทธิภาพและไม่เกิดประสิทธิผลในทางปฏิบัติที่แท้จริง ด้วยหลักสูตรนี้ จะเปิดแนวคิด ความรู้ และเทคนิคในการจัดทำแผนกลยุทธ์ HR ตลอดจนแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
- เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมของนายจ้าง / HR เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิอื่น ๆ ของเจ้าของข้อมูล
- นายจ้าง / HR สามารถจัดทำนโยบาย และกำหนดกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน (Personal Information) ให้สอดคล้องกับกฏหมายได้
วิทยากร
อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ
วิทยากร อาจารย์ และที่ปรึกษาด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
ประสบการณ์การทำงาน
กลุ่มบริษัทพรรณธิอร VP, ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล และ กรรมการบริหาร บริษัทเทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด
ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย VP, หัวหน้าทีมปฏิบัติการด้านทรัพยากรบุคคล
บริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล
บริษัทมหพันธ์ ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
บริษัทโตโยต้า ลีสซิ่ง จำกัด ผู้จัดการแผนกทรัพยากรบุคคล
ผลงานทางวิชาการ
หนังสือ HRMBA จุดประกายความคิด เสริมอาวุธด้านบริหารคน
หนังสือ SMART JD คำบรรยายลักษณะงานที่ กระชับ ฉลาด ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
Learn More Topics (09.00 – 16.00 น.)
เหตุผลและความเป็นมาของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
o “ข้อมูลส่วนบุคคล” คืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
o การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหมายถึงอะไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร มีข้อยกเว้นอย่างไร ?
o หน่วยงานใดในองค์กรเกี่ยวข้องกับ PDPA บ้าง ?
o ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล(Controller) ผู้ประมวลลข้อมูลส่วนบุคคล(Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) คือใคร ? มีบทบาทหน้าที่อย่างไร ?
o สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
o หลักการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในการเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล เปิดเผยข้อมูล
o ความรับผิดชอบตามกฎหมาย ทั้งโทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษปรับทางปกครอง
ขอบเขตการใช้บังคับบริษัทในประเทศไทย บริษัทในต่างประเทศที่มีการบริการลูกค้าในไทย ต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายนี้
สิ่งที่องค์กรควรเตรียมความพร้อม เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้
แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Guideline on Data Protection Impact Assessment) ตามขอบเขตของ DPIA
กรณีศึกษา/ตัวอย่างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
กรณีศึกษา/ตัวอย่างเอกสารแจ้งข้อมูลการประมวลผลข้อมูล (Privacy Notice)
ภาคปฏิบัติฝ่ายบุคคล
ผลกระทบและการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน (Personal Information) ของฝ่าย HR
ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานและเอกสารอะไรบ้างในฝ่ายบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายฉบับนี้
บทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับนายจ้าง และฝ่ายบุคคล ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ การกำหนดเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล /การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร
o นายจ้างมีสิทธิเรียก เก็บรักษา ใช้ ข้อมูลของพนักงานได้ทุกกรณีหรือไม่ ? ข้อมูลใดเรียกเก็บได้ ข้อมูลใดเรียกเก็บไม่ได้ ?
o ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน กรณีใด/ประเภทใดบ้าง ต้องขอความยินยอม กรณีใด/ประเภทใด ไม่ต้องขอความยินยอมตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
o เทคนิควิธีการดำเนินการด้านขอความยินยอม จากลูกจ้างเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน
o HR Privacy Policy คืออะไร ? และกรณีศึกษา/ตัวอย่าง การร่างนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (HR Privacy Policy) สำหรับพนักงาน
o บริษัทจะแจ้ง HR Privacy Policy ให้พนักงานทราบได้ด้วยวิธีใดได้บ้าง?
o กรณีศึกษา/ตัวอย่าง การจัดทำหนังสือขอให้ลูกจ้างส่งข้อมูลส่วนบุคคล
o กรณีศึกษา/ตัวอย่าง การปรับปรุงสัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แบบฟอร์มเอกสารที่เกี่ยวข้องในฝ่ายบุคคล
ปัญหาชวนคิด (Quiz) ที่เกี่ยวเนื่องกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ
o นายจ้างมีสิทธิขอดูหลักฐานการป่วยของพนักงานได้หรือไม่ ?
o ใบสมัครที่ต้องให้ระบุข้อมูล เช่น ผู้อ้างอิง ผู้คํ้าประกัน ฯลฯ ต้องขอความยินยอมจากผู้ที่ถูก อ้างอิงหรือไม่ ?
o ประวัติอาชญากรรม ประวัติสุขภาพของผู้สมัครงานหรือของลูกจ้าง เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ? จะต้องจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างไร ?
o การประเมินผลการทำงาน หรือความเห็นของผู้ประเมินต่อการทำงานของลูกจ้าง เป็นข้อมูลส่วนบุคคลได้หรือไม่ นายจ้างจะเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่สอบถามมาได้หรือไม่
o ลูกจ้างยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในสัญญาจ้าง ความยินยอมดังกล่าว ถือเป็นความยินยอมตามกฎหมายแล้วหรือไม่ ?
o ลูกจ้างจะยกเลิกการให้ความยินยอม ทำได้หรือไม่ มีวิธีการอย่างไร และต้องให้นายจ้างตกลงยอมให้ยกเลิกด้วยหรือไม่ ?
o พนักงานสามารถปฎิเสธการให้ข้อมูล หรือขอลบข้อมูลบางส่วนได้หรือไม่?
o การสแกนลายนิ้วมือพนักงาน เพื่อใช้บันทึกการมาทำงาน และควบคุมบุคคลเข้า-ออกสำนักงาน เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ? จะต้องจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างไร ?
o ฯลฯ
ถาม-ตอบ อภิปรายแลกเปลี่ยนปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
แจกฟรีแบบฟอร์มที่ใช้งานได้จริง
ผู้เข้าสัมมนา
เจ้าของกิจการ ฝ่ายบุคคล ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยขัอมูลส่วนบุคคล ของพนักงาน
วิธีการสัมมนา
- บรรยาย / ยกตัวอย่าง
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์
- • Workshop
ติดต่อสอบถาม
คุณจริยา (โอ๋) Tel: 087-076-8346/ 02-0634560 Email: jariya@learnmoretraining.com
จีรพันธ์ (จิ๋ว) Tel: 081-743-3639 Fax 02-9030080 ต่อ 8346 Email: course@traininglm.com
02-9030080 ต่อ 8346
@learnmore
สนใจหลักสูตร
สแกน QRCode เพื่อลงทะเบียนสัมมนา หรือ Download ใบสมัครหลักสูตร กดที่นี่
พิเศษ ! ราคา เพียง 2,500 บาท ยิ่งมาเยอะ ยิ่งได้รับส่วนลด (ยังไม่รวม Vat 7%)
ราคา /บาท |
หัก W/H Tax 3 % | รวม Vat 7% | ราคาสุทธิ/คน |
2,500 |
75 | 175 |
2,600 |