การบริหารการจ้างเหมาแรงงาน แบบ Outsource กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ผิดกฎหมาย และลดต้นทุนสูงสุด (Managing Labour Outsourcing while Ensuring Legal Compliance (Labour Laws and PDPA) and Minimizing Costs)
Promotion!! 4,300 บาท (ยังไม่รวม Vat 7%) จากปกติ 5,500 บาท หรือ มา 3 ท่าน เหลือเพียง ท่านละ 3,900 บาท
วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566
โรงแรม จัสมิน ซิตี้ (สุขุมวิท 23) หรือ โรงแรมย่านสุขุมวิท
การจ้างงานแบบ outsourcing มีเยอะขึ้น และได้ขยายไปแทบทุกประเภทธุรกิจ แน่นอนที่สุดคือการตัดส่วนที่องค์การไม่ชำนาญจริง ๆ ออกไป หรือไม่ก็ตัดส่วนที่ดูจะใช้ต้นทุนเยอะเกินจำเป็น หรือ อื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะในยุค Thailand 4.0 : Digital Disruption ด้วยแล้ว ความเร็ว แม่น หวังผล ปัญหาน้อยที่สุด เป็นยอดปรารถนาของการไม่ทำอะไรเอง แต่ให้มืออาชีพที่ Outsource มาทำให้ ไม่ก็ให้มือไม่อาชีพ ไม่ต้องการทักษะ (skill) มากมายนัก มาฝึกปรือ สอนงานไม่เท่าไหร่ก็สามารถทำเองได้ตัดปัญหาไปได้เปราะหนึ่งด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสรรหาคัดเลือกและว่าจ้างบุคลากรมาทำงานให้ของแต่ละองค์การนั้น ต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนทางด้านแรงงาน การจ่ายค่าจ้างค่าตอบแทนและการบริหารสวัสดิการอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย แล้วยังต้องติดปัญหาในกรณีที่มีการออกจากงานโดยไม่พึงประสงค์ (Turn over) ทำให้ขาดอัตรากำลังคนในการนำมาใช้งาน แต่การจ้าง Outsource จะช่วยปิดปัญหาในส่วนนี้ไปได้พอสมควร บางองค์การพยายามกำหนดสัดส่วนในการจ้างเป็นลูกจ้างโดยตรงให้น้อยกว่าการจ้างลูกจ้างรับเหมาค่าแรง เพื่อให้สะดวกในการบริหารจัดการ แต่อย่างไรก็ตามในดีมีเสียในเสียย่อมมีดีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบ้านเราได้มีการกำหนดเทคนิควิธีการบริหาร Outsource ไว้ในทิศทางที่จะเป็นการคุ้มครองลูกจ้างรับเหมาค่าแรงของบริษัทที่ผู้ประกอบการได้ Outsource มา แต่ก็ได้มีการเปิดช่องให้สามารถคิดพิจารณาบริหารจัดการ Outsource ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุดได้เหมือนกัน เนื่องจากในปัจจุบันได้มีคำพิพากษาของศาลในคดีแรงงานออกมาเป็นประโยชน์มากมาย น่าศึกษาเรียนรู้เทคนิคแนวทางและวิธีการดังกล่าวเพื่อจะได้นำมาปรับใช้กับการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ
ประกอบกับในขณะนี้ได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ. ศ. 2562 ออกมาใช้บังคับกับสถานประกอบการต่าง ๆ ให้ต้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างหรือผู้รับทำงานให้ในฐานะเป็น “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” ทำให้สถานประกอบกิจการซึ่งเป็นผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้างมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างตนเอง รวมถึงลูกจ้างของผู้รับเหมาหรือผู้รับจ้างที่มาปฏิบัติงานให้กับสถานประกอบกิจการซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างอีกด้วย
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีบทบัญญัติที่มีโทษ 3 ด้าน ได้แก่ โทษทางอาญาจำคุกสูงสุด 1 ปี โทษทางแพ่งและโทษทางปกครองโดยมีโทษปรับสูงสุดถึง 5 ล้านบาท จากประเด็นดังกล่าวนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญที่แหลมคมซึ่งอาจทำให้นายจ้างซึ่งเป็นผู้รับจ้างตามที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานระบุเอาไว้ว่า เป็นนายจ้างที่แท้จริงและโดยตรง มีสิทธิได้รับโทษจากการบริหารจัดการที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ ถ้าบริหารจัดการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างตนเองได้ไม่ดีพอ ไม่สอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผลพวงดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบมายังผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในฐานะผู้รับจ้างหรือได้ไป Outsource มา ในลักษณะเป็นการจ้างเหมาบริการแรงงานจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้รับจ้างอีกต่อหนึ่ง มาบริหารจัดการ ก็ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงด้วยไม่แตกต่างกัน โดยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้กำหนดให้สถานประกอบการนายจ้างไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้างก็ดี มีสถานะเป็น “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ของลูกจ้างหรือคนงานที่เข้ามาทำงานให้กับตนเอง ย่อมเพิ่มโอกาสที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการรับโทษ ทั้งทางแพ่ง ทางปกครองและทางอาญาได้ด้วยเช่นเดียวกัน
หลักสูตรดังกล่าวนี้จะไขปริศนา นำท่านเข้าสู่การบริหารจัดการ Outsourcing ที่จะทำให้เกิดความปลอดภัย ลดความเสี่ยงได้ ทั้งในส่วนของกฎหมายคุ้มครองแรงงานและในส่วนของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในลักษณะผสมผสานแบบ 2 in 1 ไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดี Outsource ที่เป็นที่สุดและเป็นต้นแบบแรกที่นายจ้างผู้ประกอบการชนะคดีมาแล้วนั้นมาจากอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ เป็นผู้บริหารจัดการคดี เป็นผู้วางรูปแบบการ Outsource มาแต่ต้น จึงมั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน ตรง ๆ จากฅนที่รู้ปัญหาและคลุกวงใน ในแวดวงการจ้าง Outsource แบบรับเหมาค่าแรงงานรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน
หากสถานประกอบกิจการใดมีการ Outsource คนมาทำงานให้ ต้องไม่พลาดหลักสูตรนี้ เพราะได้ตกผลึกความคิด ข้อปฏิบัติและมีคำพิพากษาฎีกาวางบรรทัดฐานเรียบร้อยแล้ว เหมาะที่จะนำมาเชื่อมต่อกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งมีผลใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรไทยพร้อมกันทุกสถานประกอบการแล้ว เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2565
Learn More Point
- สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคนิค วิธีการบริหารจัดการ Outsource ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ประหยัดต้นทุน
- สามารถบริหารจัดการ Outsource ร่วมกับการใช้ เชื่อมโยงกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง
วิทยากร
คุณกฤษฎ์ อุทัยรัตน์
- นักวิทย์ศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการอันดับ 1 ในประเทศไทยผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงานเมื่อคดีถึงที่สุด
- ที่ปรึกษาการบริหารธุรกิจ บริหารคุณภาพ ระบบบริหารจัดการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และกฎหมาย
- ประธานกรรมการบริหาร Kriszd Quality Innovation Institute และ SCENARIO TECHNOLOGY CO.,LTD.
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง บริษัท กฤษฎ์ ดี วี จำกัด , สถาบันพัฒนานวตกรรมคุณภาพและการบริหารจัดการ และ บริษัท ซีนาริโอ เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- sCEO (Senior Chief of Executive Officer) – Kriszd D.V. Corporation Limited,KQIG CEO-KQIG “Kriszd Quality Innovation Development Institute” and Scenario technology Corporation Limited
- วิทยากรประจำสถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ หลักสูตร ผู้บริหารหัวหน้าศาลในศาลชั้นต้น กระทรวงยุติธรรม
- อนุกรรมการพัฒนามาตรฐานแรงงานระดับชาติ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กระทรวงแรงงาน
- ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ปัญหาแรงงาน วิเคราะห์กฎหมายแรงงาน วิเคราะห์การปฏิบัติตามนโยบายและกฎหมาย และเป็นผู้ค้นคว้า ศึกษาแนวทางของศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานและที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงคดีมากกว่า 60,000 คดี
- ผู้เชี่ยวชาญการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริหารธุรกิจ ระบบบริหารคุณภาพ
ประสบการณ์ :
– ผู้บริหารระดับ CEOs บริษัทจำกัดมหาชนหลายแห่ง
– ผู้พิพากษาสมทบ ศาลแรงงานกลาง กระทรวงยุติธรรม
– กรรมการบริหารสายแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
- ความหมายของ การจ้างเหมางาน แบบ Outsourcing ในแบบฉบับสากล และ แบบฉบับของกฎหมายไทย
- ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียของการจ้างเหมาที่เกี่ยวข้อง และการเปรียบเทียบ
- ระเบียบ แนวปฏิบัติ เทคนิค และ วิธีการจ้างเหมางาน แบบ Outsourcing ที่รัดกุม (เรียนรู้ทั้งที่ทำถูกต้อง และไม่ถูกต้อง ผ่านแนวทางชี้ถูกชี้ผิด ที่ชัดเจน)
- ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างเหมางานแบบ Outsourcing รวมทั้งกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อนำไปประยุกต์ ปรับใช้ เพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง หรือ ดำเนินการลดความเสี่ยงจากการถูกวินิจฉัยให้ต้องรับผิดทางแพ่งและทางอาญา โดยไม่จำเป็น
- ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร มีกี่ประเภท แบบใดของลูกจ้างผู้รับจ้างและบุคคลที่ผู้รับจ้างส่งเข้ามาปฏิบัติงานกับผู้ว่าจ้าง กรณีใดต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- การเลือกใช้ฐานกฎหมายทั้ง 7 ฐาน (7 Lawful Basis) ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีแนวทางในการเลือกใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับการ Outsource
- สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีและที่ถูกปฏิเสธได้
- ความสัมพันธ์ระหว่าง Data Controller , Data Processor , Data Subject ใครเป็นใคร ต้องมีแบบฟอร์มหรือลายลักษณ์อักษรหรือไม่
- การนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างผู้รับจ้างและบุคคลที่ผู้รับจ้างส่งเข้ามาปฏิบัติงานกับผู้ว่าจ้างไปเก็บ รวบรวม ใช้และเปิดเผยทำอย่างไร กฎหมายต้องขอความยินยอมเสมอไปหรือไม่จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ๆ
- อะไรคือการประมวลผลแล้วมีผลตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรณีใดไม่มีผลกระทบ และรูปแบบการประมวลผล
- การทำให้สัญญาจ้างเหมาบริการแรงงานที่ถูกตีความว่าลูกจ้างผู้รับเหมาเป็นลูกจ้างของผู้ว่าจ้าง เปลี่ยนเป็นสัญญาจ้างเหมาแบบจ้างทำของได้อย่างไร
- เทคนิคไม่ให้ตีความว่าผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมาเป็นอย่างไร การตีขอบเขตกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Chart : BPC) ทำอย่างไร ให้รัดกุม รอบคอบ แล้วยังสามารถนำไปจ้างเหมาหรือจ้างช่วงในการจ้างทำของได้อย่างแยบยล
- กรณีถูกตีความว่าผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมา จะต้องรับผิดชอบมากมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของผู้ว่าจ้างที่ให้กับลูกจ้างของตนเอง ข้อสำคัญก็ต้องให้สิทธิประโยชน์และสวัสดิการดังกล่าวนั้น กับลูกจ้างของผู้รับเหมาด้วย โดยเท่าเทียมกัน เสมือนผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมา จะมีวิธีการอย่างไรเชิงป้องกัน หรือ หากเกิดขึ้นแล้ว จะแก้ไขได้อย่างไร เพื่อลดผลกระทบที่ตามมาให้น้อยที่สุด
- แบบและตัวอย่างสัญญาจ้างเหมาที่สำคัญ ที่นิยมใช้กัน และข้อพิจารณาสำคัญให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (รวบรวมจากมาตรฐานทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว เพื่อนำมาวิเคราะห์ เจาะลึกในการสัมมนา)
- การวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของรายละเอียดในสัญญาจ้างเหมาแต่ละลักษณะตามตัวอย่างสัญญาจ้างเหมาที่สำคัญ
- การบริหารจัดการ Outsource คนงาน ลูกจ้างต่างด้าว
- บทลงโทษหากผู้ประกอบการที่เป็นผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างได้กระทำผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- วงจรชีวิตข้อมูลส่วนบุคคลและการกำจัดทำลาย
- ตัวอย่างจริงและกรณีศึกษาสำคัญ
- วิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกา และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เกี่ยวกับการจ้างเหมางานที่เกี่ยวข้อง
ผู้เข้าสัมมนา
ผู้บริหาร HRM ผู้จัดการ หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ ทุกสายงานการบังคับบัญชาที่มีการจ้างเหมาทุกประเภท รวมถึงจ้างเหมาโดยนำบุคคลมาทำงานให้ในกิจการ ธุรกิจของผู้ประกอบการและไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวก็ตาม และเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
วิธีการสัมมนา
การบรรยาย
Case Study analysis จากคำพิพากษาศาลฎีกา และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ (เฉพาะยกกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง มาเล่าสู่กันฟัง)
ซักถาม แลกเปลี่ยนประสบการณ์จริง
ติดต่อสอบถาม
ติดต่อ จริยา (โอ๋) Tel 087-076-8346/02-0634560 หรือ
Fax 02-9030080 ต่อ 8346
E-mail: jariya@learnmoretraining.com; lookchang@hotmail.com
Website: www.learnmoretraining.net
Line : 0870768346
สนใจหลักสูตร
สแกน QRCode เพื่อลงทะเบียนสัมมนา หรือ Download ใบสมัครหลักสูตร กดที่นี่
พิเศษ ! ราคา 4,300 บาท จากปกติ 5,500 บาท (ยังไม่รวม Vat 7%)
ราคา /บาท |
หัก W/H Tax 3 % | รวม Vat 7% | ราคาสุทธิ/คน |
4,300 |
129 | 301 |
4,472 |
สมัคร 2 ท่าน /ท่านละ 3,900 | 117 | 273 |
4,056 |