แนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(DPO) ประจำองค์กร (Data Protection Officer Guideline – PDPA) พร้อมตัวอย่างและเอกสารแบบฟอร์ม PDPA สำเร็จรูป (Online)
Promotion!! เพียง 2,500 บาท (ยังไม่รวม Vat 7%)
วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564
กับรูปแบบการเรียนแบบ Online & Real Time ผ่าน Zoom
แนวปฏิบัติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปแล้วจะบัญญัติไว้เพียงในระดับที่กำหนด “การห้าม” เป็นหลักการไว้เท่านั้น แต่ในขั้นตอนปฏิบัติย่อมไม่สามารถระบุรายละเอียดวิธีการได้โดยสมบูรณ์ จึงมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติว่าควรทำ “อย่างไร” เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม
จากการที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ได้ขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้มีเวลาเพิ่มขึ้นในเตรียมความพร้อมดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้น จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ประจำองค์กร ที่กฎหมายกำหนดให้มีขึ้นพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เป็นผู้ให้คำแนะนำและตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายฉบับนี้ จึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า แล้ว DPO ควรมีบทบาทหน้าที่และวิธีการปฏิบัติงานอย่างไร ?
- เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
- เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมขององค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิ
ต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูล - สามารถจัดทำ แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามของเขต DPIA และ ทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในบทบาทของ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิทยากร
อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ
วิทยากร อาจารย์ และที่ปรึกษาด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
ประสบการณ์การทำงาน
กลุ่มบริษัทพรรณธิอร VP, ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล และ กรรมการบริหาร บริษัทเทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด
ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย VP, หัวหน้าทีมปฏิบัติการด้านทรัพยากรบุคคล
บริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล
บริษัทมหพันธ์ ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
บริษัทโตโยต้า ลีสซิ่ง จำกัด ผู้จัดการแผนกทรัพยากรบุคคล
ผลงานทางวิชาการ
หนังสือ HRMBA จุดประกายความคิด เสริมอาวุธด้านบริหารคน
หนังสือ SMART JD คำบรรยายลักษณะงานที่ กระชับ ฉลาด ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
➢ เหตุผลและความเป็นมาของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
➢ สาระสำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
o ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
o ตัวบุคคลและบทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
o สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
o หลักการขอความยินยอม – การเก็บ – การใช้ – การเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล
o ฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
o ความรับผิดและบทลงโทษดตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่ง – ทางอาญา – โทษทางปกครอง
➢ ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมกับ 10 ภารกิจที่องค์กรต้องทำก่อน PDPA บังคับใช้
➢ การจัดเตรียมเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับ PDPA อาทิ หนังสือให้ความยินยอม เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Consent From) เอกสารแจ้งข้อมูลการประมวลผลข้อมูล (Privacy Notice) ข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement) คำร้องขอใช้สิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form) เป็นต้น
➢ แนวการทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
➢ แนวปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDIA (Data Protection Impact Assessment) และการวิเคราะห์ความเสี่ยง/มาตรการจัดการความเสี่ยง
➢ การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer Guideline)
- ความจำเป็น ทักษะและคุณสมบัติที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ข้อควรระวังที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ความรับผิดของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- 5 ภารกิจหลัก กับ 11 แนวปฏิบัติที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 42
- เนื้อหาและโครงสร้างบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมตัวอย่าง ฯลฯ
➢ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับ เจ้าหน้าคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
➢ Workshop / กิจกรรม
- วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมานของกิจกรรมภายในองค์กร
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- เอกสาร/แบบฟอร์ม PDPA ที่เกี่ยวข้อง
ผู้เข้าสัมมนา
นายจ้าง และ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
วิธีการสัมมนา
- บรรยาย / ยกตัวอย่าง
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์
- Workshop
ติดต่อสอบถาม
คุณจริยา (โอ๋) Tel: 087-076-8346/ 02-0634560 Email: jariya@learnmoretraining.com
จีรพันธ์ (จิ๋ว) Tel: 081-743-3639 Fax 02-9030080 ต่อ 8346 Email: course@traininglm.com
02-9030080 ต่อ 8346
@learnmore
สนใจหลักสูตร
สแกน QRCode เพื่อลงทะเบียนสัมมนา หรือ Download ใบสมัครหลักสูตร กดที่นี่
พิเศษ ! ราคา เพียง 2,500 บาท ยิ่งมาเยอะ ยิ่งได้รับส่วนลด (ยังไม่รวม Vat 7%)
ราคา /บาท |
หัก W/H Tax 3 % | รวม Vat 7% | ราคาสุทธิ/คน |
2,500 |
75 | 175 |
2,600 |